เรื่องมีอยู่ว่า นางสาว ก. ได้ไปซื้อรถกระบะมือสองจากเต้นท์รถแห่งหนึ่ง โดยทำสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทลิสซิ่ง ในราคา 600,000 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อ 74 งวด ในระหว่างที่ยัง ผ่อนรถยนต์ อยู่นั้น นาย ช. ได้ขอซื้อรถกระบะดังกล่าวต่อจากนางสาว ก. โดยนางสาว ก. ตกลง ขายดาวน์ ให้นาย ช. และให้นาย ช. ผ่อนรถยนต์ ต่อ ในนามของของนางสาว ก. หลังจากนั้น นาย ช. ก็ ผ่อนรถยนต์ ไปได้ 5 งวด แล้วก็ไม่ผ่อนต่อ เนื่องจากต้องการขายรถกระบะให้แก่คนอื่น นาย ช. จึงได้นำรถกระบะซึ่งยัง ผ่อนไม่หมดไปขาย ให้เพื่อน ซึ่งเพื่อนก็รับซื้อไว้ แต่หลังจากนั้น เพื่อนก็ ไม่ผ่อนรถยนต์ ต่อ และไม่สามารถติดต่อได้ ต่อมาบริษัทลิสซิ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้มีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อและบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังนางสาว ก. นางสาว ก. ไปสอบถามนาย ช. ว่าเกิดอะไรขึ้น นาย ช. ก็เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง นางสาว ก. ได้เล่าเรื่องดังกล่าวให้บริษัทลิสซิ่งฟัง บริษัทลิสซิ่ง แนะนำให้นางสาว ก. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่นาย ช. เอง ในข้อหายักยอก นางสาว ก. ก็ได้ไปแจ้งความ จนอัยการได้ยื่นฟ้อง นาย ช. ต่อศาล
เมื่อดูข้อเท็จจริงทั้งหมด จะเห็นได้ว่า เป็นการ ขายดาวน์รถยนต์แล้วให้คนอื่นผ่อนต่อ ซึ่งกรณีนี้ ถ้ามองในแง่ของบริษัทลิสซิ่งนั้น ตราบใดที่สัญญาเช่าซื้อรถกระบะยังเป็น นางสาว ก. อยู่ ไม่ว่ารถยนต์จะขายไปแล้วกี่ทอดก็ตาม ตามกฎหมายถือว่า คู่สัญญายังเป็น นางสาว ก. อยู่ เมื่อมีการผิดนัดค่างวดรถ บริษัทลิสซิ่งก็จะฟ้อง นางสาว ก. ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ส่วน นางสาว ก. อาจไปฟ้องไล่เบี้ยเอากับ นาย ช. เพื่อให้ชำระค่าเสียหายที่ นางสาว ก. ถูกบริษัทลิสซิ่งฟ้องได้ เพราะ นาย ช. ผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์จนเป็นเหตุให้นางสาว ก. ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องของคดีแพ่ง
ศาลฎีกา พิพากษาว่า การขายดาวน์รถยนต์ให้คนอื่นผ่อนต่อไม่ผิดอาญา
ในส่วนคดีอาญาที่ นางสาว ก. ไปแจ้งความดำเนินคดี กับนาย ช. ในข้อหายักยอกนั้น ศาลฎีกา ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หลังจากที่นาย ช. ได้รับมอบรถกระบะจาก นางสาว ก. แล้ว นาย ช. ก็ใช้รถกระบะโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของนางสาว ก. เรื่อยมาจำนวนถึง 5 งวดติดต่อกัน ต่อมา นาย ช. ค้างส่งค่างวดจึงได้ขายดาวน์รถยนต์แล้วให้เพื่อนผ่อนต่อ พฤติการณ์ดังกล่าวของ นาย ช. รวมทั้งที่นาย ช. รับเงินดาวน์จากเพื่อน นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขาย แต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่เพื่อน โดยมีข้อตกลงให้เพื่อนมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป อันถือว่า นาย ช. ไม่ได้ได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต จึง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก (อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554 )
อยาก ขายดาวน์รถยนต์ให้คนอื่นผ่อนต่อ จะทำอย่างไรดี
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้เราจะ ขายดาวน์ให้คนอื่นไปผ่อนต่อ แล้วก็ตาม หากคนที่ซื้อรถยนต์ของเราไป เขาไม่ผ่อนต่อ ท้ายที่สุดบริษัทลิสซิ่ง สามารถฟ้องเราให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทางเราจึงขอแนะนำว่าในการซื้อขายรถนั้น ควรจะต้องแจ้งให้บริษัทลิสซิ่งทราบเพื่อเปลี่ยนคู่สัญญาจากเราเป็นชื่อคนซื้อคนอื่น หากคนซื้อเขาไม่ผ่อนต่อ บริษัทลิสซิ่งก็ไม่สามารถฟ้องเราได้ เพราะเราไม่ใช่คู่สัญญา
บทความโดย :- สราวุธ ทองสุข ทนายความ
ข้อมูลอ้างอิง :- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554
Share This Story, Choose Your Platform!
เรื่องมีอยู่ว่า นางสาว ก. ได้ไปซื้อรถกระบะมือสองจากเต้นท์รถแห่งหนึ่ง โดยทำสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทลิสซิ่ง ในราคา 600,000 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อ 74 งวด ในระหว่างที่ยัง ผ่อนรถยนต์ อยู่นั้น นาย ช. ได้ขอซื้อรถกระบะดังกล่าวต่อจากนางสาว ก. โดยนางสาว ก. ตกลง ขายดาวน์ ให้นาย ช. และให้นาย ช. ผ่อนรถยนต์ ต่อ ในนามของของนางสาว ก. หลังจากนั้น นาย ช. ก็ ผ่อนรถยนต์ ไปได้ 5 งวด แล้วก็ไม่ผ่อนต่อ เนื่องจากต้องการขายรถกระบะให้แก่คนอื่น นาย ช. จึงได้นำรถกระบะซึ่งยัง ผ่อนไม่หมดไปขาย ให้เพื่อน ซึ่งเพื่อนก็รับซื้อไว้ แต่หลังจากนั้น เพื่อนก็ ไม่ผ่อนรถยนต์ ต่อ และไม่สามารถติดต่อได้ ต่อมาบริษัทลิสซิ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้มีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อและบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังนางสาว ก. นางสาว ก. ไปสอบถามนาย ช. ว่าเกิดอะไรขึ้น นาย ช. ก็เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง นางสาว ก. ได้เล่าเรื่องดังกล่าวให้บริษัทลิสซิ่งฟัง บริษัทลิสซิ่ง แนะนำให้นางสาว ก. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่นาย ช. เอง ในข้อหายักยอก นางสาว ก. ก็ได้ไปแจ้งความ จนอัยการได้ยื่นฟ้อง นาย ช. ต่อศาล
เมื่อดูข้อเท็จจริงทั้งหมด จะเห็นได้ว่า เป็นการ ขายดาวน์รถยนต์แล้วให้คนอื่นผ่อนต่อ ซึ่งกรณีนี้ ถ้ามองในแง่ของบริษัทลิสซิ่งนั้น ตราบใดที่สัญญาเช่าซื้อรถกระบะยังเป็น นางสาว ก. อยู่ ไม่ว่ารถยนต์จะขายไปแล้วกี่ทอดก็ตาม ตามกฎหมายถือว่า คู่สัญญายังเป็น นางสาว ก. อยู่ เมื่อมีการผิดนัดค่างวดรถ บริษัทลิสซิ่งก็จะฟ้อง นางสาว ก. ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ส่วน นางสาว ก. อาจไปฟ้องไล่เบี้ยเอากับ นาย ช. เพื่อให้ชำระค่าเสียหายที่ นางสาว ก. ถูกบริษัทลิสซิ่งฟ้องได้ เพราะ นาย ช. ผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์จนเป็นเหตุให้นางสาว ก. ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องของคดีแพ่ง
ศาลฎีกา พิพากษาว่า การขายดาวน์รถยนต์ให้คนอื่นผ่อนต่อไม่ผิดอาญา
ในส่วนคดีอาญาที่ นางสาว ก. ไปแจ้งความดำเนินคดี กับนาย ช. ในข้อหายักยอกนั้น ศาลฎีกา ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หลังจากที่นาย ช. ได้รับมอบรถกระบะจาก นางสาว ก. แล้ว นาย ช. ก็ใช้รถกระบะโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของนางสาว ก. เรื่อยมาจำนวนถึง 5 งวดติดต่อกัน ต่อมา นาย ช. ค้างส่งค่างวดจึงได้ขายดาวน์รถยนต์แล้วให้เพื่อนผ่อนต่อ พฤติการณ์ดังกล่าวของ นาย ช. รวมทั้งที่นาย ช. รับเงินดาวน์จากเพื่อน นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขาย แต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่เพื่อน โดยมีข้อตกลงให้เพื่อนมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป อันถือว่า นาย ช. ไม่ได้ได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต จึง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก (อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554 )
อยาก ขายดาวน์รถยนต์ให้คนอื่นผ่อนต่อ จะทำอย่างไรดี
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้เราจะ ขายดาวน์ให้คนอื่นไปผ่อนต่อ แล้วก็ตาม หากคนที่ซื้อรถยนต์ของเราไป เขาไม่ผ่อนต่อ ท้ายที่สุดบริษัทลิสซิ่ง สามารถฟ้องเราให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทางเราจึงขอแนะนำว่าในการซื้อขายรถนั้น ควรจะต้องแจ้งให้บริษัทลิสซิ่งทราบเพื่อเปลี่ยนคู่สัญญาจากเราเป็นชื่อคนซื้อคนอื่น หากคนซื้อเขาไม่ผ่อนต่อ บริษัทลิสซิ่งก็ไม่สามารถฟ้องเราได้ เพราะเราไม่ใช่คู่สัญญา
บทความโดย :- สราวุธ ทองสุข ทนายความ
ข้อมูลอ้างอิง :- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554
Share This Story, Choose Your Platform!
เรื่องมีอยู่ว่า นางสาว ก. ได้ไปซื้อรถกระบะมือสองจากเต้นท์รถแห่งหนึ่ง โดยทำสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทลิสซิ่ง ในราคา 600,000 บาท ตกลงชำระค่าเช่าซื้อ 74 งวด ในระหว่างที่ยัง ผ่อนรถยนต์ อยู่นั้น นาย ช. ได้ขอซื้อรถกระบะดังกล่าวต่อจากนางสาว ก. โดยนางสาว ก. ตกลง ขายดาวน์ ให้นาย ช. และให้นาย ช. ผ่อนรถยนต์ ต่อ ในนามของของนางสาว ก. หลังจากนั้น นาย ช. ก็ ผ่อนรถยนต์ ไปได้ 5 งวด แล้วก็ไม่ผ่อนต่อ เนื่องจากต้องการขายรถกระบะให้แก่คนอื่น นาย ช. จึงได้นำรถกระบะซึ่งยัง ผ่อนไม่หมดไปขาย ให้เพื่อน ซึ่งเพื่อนก็รับซื้อไว้ แต่หลังจากนั้น เพื่อนก็ ไม่ผ่อนรถยนต์ ต่อ และไม่สามารถติดต่อได้ ต่อมาบริษัทลิสซิ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้มีหนังสือทวงถามค่าเช่าซื้อและบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังนางสาว ก. นางสาว ก. ไปสอบถามนาย ช. ว่าเกิดอะไรขึ้น นาย ช. ก็เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง นางสาว ก. ได้เล่าเรื่องดังกล่าวให้บริษัทลิสซิ่งฟัง บริษัทลิสซิ่ง แนะนำให้นางสาว ก. ไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่นาย ช. เอง ในข้อหายักยอก นางสาว ก. ก็ได้ไปแจ้งความ จนอัยการได้ยื่นฟ้อง นาย ช. ต่อศาล
เมื่อดูข้อเท็จจริงทั้งหมด จะเห็นได้ว่า เป็นการ ขายดาวน์รถยนต์แล้วให้คนอื่นผ่อนต่อ ซึ่งกรณีนี้ ถ้ามองในแง่ของบริษัทลิสซิ่งนั้น ตราบใดที่สัญญาเช่าซื้อรถกระบะยังเป็น นางสาว ก. อยู่ ไม่ว่ารถยนต์จะขายไปแล้วกี่ทอดก็ตาม ตามกฎหมายถือว่า คู่สัญญายังเป็น นางสาว ก. อยู่ เมื่อมีการผิดนัดค่างวดรถ บริษัทลิสซิ่งก็จะฟ้อง นางสาว ก. ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ส่วน นางสาว ก. อาจไปฟ้องไล่เบี้ยเอากับ นาย ช. เพื่อให้ชำระค่าเสียหายที่ นางสาว ก. ถูกบริษัทลิสซิ่งฟ้องได้ เพราะ นาย ช. ผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์จนเป็นเหตุให้นางสาว ก. ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องของคดีแพ่ง
ศาลฎีกา พิพากษาว่า การขายดาวน์รถยนต์ให้คนอื่นผ่อนต่อไม่ผิดอาญา
ในส่วนคดีอาญาที่ นางสาว ก. ไปแจ้งความดำเนินคดี กับนาย ช. ในข้อหายักยอกนั้น ศาลฎีกา ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หลังจากที่นาย ช. ได้รับมอบรถกระบะจาก นางสาว ก. แล้ว นาย ช. ก็ใช้รถกระบะโดยเปิดเผยและได้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของนางสาว ก. เรื่อยมาจำนวนถึง 5 งวดติดต่อกัน ต่อมา นาย ช. ค้างส่งค่างวดจึงได้ขายดาวน์รถยนต์แล้วให้เพื่อนผ่อนต่อ พฤติการณ์ดังกล่าวของ นาย ช. รวมทั้งที่นาย ช. รับเงินดาวน์จากเพื่อน นั้น ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขาย แต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่เพื่อน โดยมีข้อตกลงให้เพื่อนมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อต่อไป อันถือว่า นาย ช. ไม่ได้ได้เบียดบังเอารถกระบะดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต จึง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก (อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554 )
อยาก ขายดาวน์รถยนต์ให้คนอื่นผ่อนต่อ จะทำอย่างไรดี
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้เราจะ ขายดาวน์ให้คนอื่นไปผ่อนต่อ แล้วก็ตาม หากคนที่ซื้อรถยนต์ของเราไป เขาไม่ผ่อนต่อ ท้ายที่สุดบริษัทลิสซิ่ง สามารถฟ้องเราให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทางเราจึงขอแนะนำว่าในการซื้อขายรถนั้น ควรจะต้องแจ้งให้บริษัทลิสซิ่งทราบเพื่อเปลี่ยนคู่สัญญาจากเราเป็นชื่อคนซื้อคนอื่น หากคนซื้อเขาไม่ผ่อนต่อ บริษัทลิสซิ่งก็ไม่สามารถฟ้องเราได้ เพราะเราไม่ใช่คู่สัญญา
บทความโดย :- สราวุธ ทองสุข ทนายความ
ข้อมูลอ้างอิง :- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554